สิทธิมนุษยชนกับบุคคลเพศที่สาม
สิทธิทางสังคมกับบุคคลเพศที่สาม
แต่ไหนแต่ไรมาสังคมในอดีตเหมือนจะมีกันแค่สองเพศคือ เพศชาย และเพศหญิงโดยที่ใช้อวัยวะเพศที่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยก แต่ในปัจจุบันนี้ได้ปรากฏว่ามีเพศทางเลือกถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งคำว่า “เพศทางเลือก” นี้หมายความถึง เพศที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ที่ต้องการเลือกเองว่าตนต้องการเป็นเพศใดหรือที่คนในสังคมเรียกว่า “เพศที่สาม” หรือ “กลุ่มรักร่วมเพศ” นั่นเอง ซึ่งคนในกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็นกะเทย ตุ๊ด เกย์ ทอม ดี้ เลสเบี้ยน ก็ย่อมหมายถึงกลุ่มคนที่มีความพึงพอใจหรือความรักใคร่กับคนเพศเดียวกัน คนทั่วไปในสังคมมักมองคนกลุ่มนี้ว่าเป็นพวกผิดปกติทางเพศ เป็นตัวประหลาด มองด้วยสายตารังเกียจเดียดฉันท์ ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม สำหรับเพศที่สามนั้นเป็นเพศที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในหลายๆด้านและทัศคติต่อคนภายนอกต่อพวกเค้าก็ไม่ดีเป็นเหตุให้พวกเขาเหล่านี้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายๆเรื่อง และรวมถึงสิทธิบางประการที่คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้เหมือนกับคนในเพศปกติ
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้นได้ให้การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ได้วางหลักไว้ว่า
ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
ข้อ 2 (1) ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าชนิดใดๆดังเช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ
รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคของบุคคลเอาไว้ในมาตรา 30 โดยมีหลักว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน”
มาตรา 30 วรรคสามได้วางหลักว่า “การเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้”
จากหลักกฎหมายที่ได้นำมากล่าวอ้างนี้จะเห็นได้ว่าความแตกต่างทางเพศนั้นไม่เป็นข้ออ้างในการที่จะเลือกปฏิบัติกับบุคคลอื่น แม้ในปัจจุบันนี้เหล่าบรรดาเพศที่สามนั้นจะได้มีการยอมรับว่ามีตัวตนอยู่ในสังคม และมีสิทธิมากขึ้นมากกว่าเดิมแต่ก็ยังมีสิทธิบางประการที่กลุ่มคนเหล่านี้ยังคงถูกเลือกปฏิบัติจากคนในสังคมที่เห็นได้ชัดก็คือ
สิทธิในร่างกาย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 วางหลักว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย” แต่เนื่องจากบุคคลภายนอกมักจะมองคนกลุ่มนี้ว่าแตกต่างจากตน จึงมีผู้ที่นึกสนุกในการที่จะกลั่นแกล้งคนกลุ่มนี้ รวมถึงเหล่าเพศที่สามนี้มักถูกละเมิดทางเพศดังจะเห็นได้จากเทศกาลสงกรานต์ เหล่าเพศที่สามไปเล่นน้ำกันแล้วก็มักจะถูกกลุ่มคนเพศชายไปรุมแกล้งต่างๆนาๆ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในร่างกายของเพศที่สาม ซึ่งบางคนอาจถูกลวนลามโดยการจับหน้าอกโดยที่ผู้กระทำนั้นคิดว่าไม่เป็นอะไรเพราะเป็นผู้ชายเหมือนกัน แต่ผู้ที่ถูกกระทำมักคิดว่าตนถูกละเมิดทางเพศแต่ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ แม้จะแจ้งตำรวจให้ดำเนินการก็มักจะถูกเพิกเฉย
สิทธิในการทำงานอย่างยุติธรรม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้วางหลักการเกี่ยวกับสิทธิในการทำงานเอาไว้ว่า
ข้อ 23(1) ทุกคนมีสิทธิในการงาน ในการเลือกงานโดยอิสระในเงื่อนไขอันยุติธรรม และเป็นประโยชน์แห่งการงาน และในการคุ้มครองต่อการว่างงาน
(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ
(3) ทุกคนที่ทำงานมีสิทธิที่จะได้รับสินจ้างที่ยุติธรรมและเป็นประโยชน์ ที่จะให้ประกันแก่ตนเองและครอบครัวแห่งตน ซึ่งความเป็นอยู่อันคู่ควรแก่เกียรติศักดิ์ของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็จะต้องได้รับวิถีทางคุ้มครองทางสังคมอื่นๆเพิ่มเติมด้วย
(4) ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้ง และที่จะเข้าร่วมสหพันธ์กรรมกร เพื่อความคุ้มครองแห่งผลประโยชน์ของตน
(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ
(3) ทุกคนที่ทำงานมีสิทธิที่จะได้รับสินจ้างที่ยุติธรรมและเป็นประโยชน์ ที่จะให้ประกันแก่ตนเองและครอบครัวแห่งตน ซึ่งความเป็นอยู่อันคู่ควรแก่เกียรติศักดิ์ของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็จะต้องได้รับวิถีทางคุ้มครองทางสังคมอื่นๆเพิ่มเติมด้วย
(4) ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้ง และที่จะเข้าร่วมสหพันธ์กรรมกร เพื่อความคุ้มครองแห่งผลประโยชน์ของตน
รวมถึงรัฐธรรมนูญ มาตรา 43 ได้วางหลักว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม” แต่ในความเป็นจริงเพศที่สามมักถูกกีดกันหรือถูกห้ามไม่ให้ทำงานบางประเภทหรือแม้กระทั่งได้รับเงินค่าจ้างน้อยกว่าคนอื่น ปัญหานี้เกิดจากการไม่ยอมรับในความเป็นเพศที่ผิดปกติ ทำให้สถานที่ทำงานหลายแห่งปฏิเสธการรับเหล่าเพศที่สามนี้เข้าทำงานถึงแม้ว่าจะมีความสามารถเทียบเท่าหรือมากกว่าเพศปกติ ดังจะเห็นได้จากข่าวที่มีกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาแพทย์ว่าไม่รับเพศที่สามเข้าเรียน ห้ามไม่ให้เหล่าบรรดาครูเพศที่สามสอนเด็กนักเรียนเนื่องจากกลัวเด็กจะเกิดพฤติการณ์เลียนแบบเป็นต้น
สิทธิในการเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าชื่อ จะเห็นได้ในช่วงปี 2552-2553 ได้มีเหล่าเพศที่สามออกมาเรียกร้องให้ตนสามารถเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าชื่อจากนายเป็นนางสาว หรือจากนางสาวเป็นนายได้เหมือนอย่างที่หญิงที่สมรสหรือหย่ากับสามีแล้วสามารถที่จะเลือกใช้คำนำหน้าว่า นาง หรือ นางสาวได้นี้ก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เหล่าเพศที่สามนี้เปลี่ยนไปใช้คำนามดังเช่นเพศปกติที่ตนต้องการจะเป็น เพราะอาจเกิดความสับสนทางสังคม และอาจส่งผลกระทบต่อฐานข้อมูลราษฎรในประเทศได้ เช่นตอนแจ้งเกิดเข้าฐานข้อมูลราษฎรระบุว่าเป็นเพศชาย หากต่อมาได้คำนำหน้าเป็นนางสาวก็ย่อมส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรได้ แต่หากต้องการที่จะเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อของเหล่าเพศที่สามนี้ก็อาจจะสามารถกระทำได้แต่อาจจะมีการกำหนดคำใหม่ขึ้นมาว่าจะเป็นอะไร หรือหากจะใช้นางสาวก็อาจจะมีวงเล็บว่าได้นางสาวมาจากสาเหตุอะไรเพื่อป้องกันการสับสน
สิทธิในการสมรส ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ระบุเรื่องสิทธิของการสมรสไว้ใน ข้อ 16 (1) ชายและหญิงที่มีอายุเต็มบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะทำการสมรส และจะก่อตั้งครอบครัว โดยปราศจากการจำกัดใดๆ อันเนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา ต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสมรส ระหว่างการสมรสและในการขาดจากการสมรส
(2) การสมรสจะกระทำกันก็แต่ด้วยความยินยอมโดยอิสระและเต็มที่ของผู้ที่เจตนาจะเป็นคู่สมรส
(3) ครอบครัวเป็นหน่วยธรรมชาติ และหลักมูลของสังคมและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ
(2) การสมรสจะกระทำกันก็แต่ด้วยความยินยอมโดยอิสระและเต็มที่ของผู้ที่เจตนาจะเป็นคู่สมรส
(3) ครอบครัวเป็นหน่วยธรรมชาติ และหลักมูลของสังคมและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ
มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ยอมรับให้เพศที่สามสามารถจะทำการสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้ให้การรับรองว่าการสมรสของเหล่าบรรดาเพศที่สามมีผลผูกพันทางกฎหมายแต่อย่างใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ได้วางหลักเอาไว้ว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้” จะเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดไว้แค่ชายและหญิงเท่านั้น หากแม้เหล่าบรรดาเพศที่สามจะได้มีการจัดงานมงคลสมรสขึ้นมาดังที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์มาตลอดแต่ก็เป็นเพียงการสมรสตามแบบพิธีเท่านั้นยังไม่ถือว่าการสมรสนั้นถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายไทยกำหนดให้การสมรสจะมีผลก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วเท่านั้น ดังนี้จะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้หรือไม่ ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนให้มีการรับรองการแต่งงานของเหล่าบรรดาเพศที่สามนี้ แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่ว่าบุคคลกลุ่มนี้ก็สมควรมีสิทธิที่จะได้รับการรับรองการสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายเหมือนดังเช่นหญิงชายในสังคม เพื่อที่จะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ในฐานะสามีภรรยา เช่น หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูกัน สิทธิที่จะได้รับมรดก สิทธิที่จะหึงหวงคู่สมรส สิทธิในสินสมรส ฯลฯ เป็นต้น ถึงแม้สังคมจะไม่ยอมรับความรักของเหล่าบรรดาเพศที่สาม แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่าเหล่าบรรดาเพศที่สามก็มีความรักเหมือนดังเช่นคนปกติ แม้จะเป็นการรักกับคนเพศเดียวกันก็ตาม
สิทธิต่างๆที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิทธิที่ขาดหายไปของเหล่าบรรดาเพศที่สาม รวมถึงได้มีการเรียกร้องสิทธิทั้งหลายนี้ของเพศที่สามแล้วแต่ก็ไม่เคยได้รับการตอบสนองจากภาครัฐแม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่เสียภาษีให้แก่รัฐเหมือนกับคนอื่นๆ รวมถึงการไม่ได้รับการยอมรับในบางสังคมเพียงเพราะคนในสังคมนั้นมองว่าคนเหล่านี้เป็นพวกผิดปกติ เป็นที่น่ารังเกียจ โดยลืมนึกไปว่าคนเหล่านี้ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งอย่างไรก็ตามเราก็ควรเคารพสิทธิมนุษยชนของพวกเขาเหล่านั้นในฐานะมนุษย์เหมือนเราเช่นกัน[i]
กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[1] ในภาษาอังกฤษย่อว่า LGBT (หรือ GLBT) ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวแรกของคำว่า lesbian (เลสเบี้ยน) , gay (เกย์) , bisexual (ไบเซ็กชวล) , และ transgender/transsexual (คนข้ามเพศ) มีการใช้คำว่า LGBT มาตั้งแต่ยุค 90 ซึ่งดัดแปลงมาจาก “LGB” ที่ใช้ในการแทนวลี "สังคมเกย์" (Gay community) ที่ในหลาย ๆ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่รู้สึกว่าอธิบายกลุ่มคนพวกนี้ได้อย่างถูกต้องตามที่กล่าว ในการใช้สมัยใหม่ LGBT มีความหมายถึงความหลากหลายของเพศวิถี (Sexuality) และลักษณะการแสดงเพศทางสังคม และในบางครั้งอาจหมายถึงกลุ่มคนที่ไม่ใช่กลุ่มรักต่างเพศ แทนการระบุว่าเป็นเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล หรือ คนข้ามเพศ
[i] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พุทธศักราช 2551
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับปรับปรุง 2553
“สิทธิ” และ “ที่ยืน” เสียงจากเพศที่สาม [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก http://news.sanook.com/lifestyle/lifestyle_175069.php
ชีวิตจริงที่แพ้กฎหมาย ความไม่เท่าเทียมกันบนฐานสังคม [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
เมื่อ “กะเทย แปลงเพศ” ขอเป็น “หญิง” ตามกฎหมาย [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
ถ้าเราจะเรียนร้องสิทธิ์เพศที่สามกฎหมายคุุ้มครองต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ
ตอบลบตือไม่อยากให้เป็นเหมือนหนังเรื่องนี้เมื่ออีกคนจะตายแร้วต้องมารอคนเซ็นอนุญาติผ่าตัดจากญาติ ซึ่งคนที่เป็นเพศเดียวกันที่เป็นเเฟนไม่มีสิทธิ์อะไรเลย
http://www.nungmovies-hd.com/1448-love-among-us-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3/
สังคมไทย ก็คือสังคมไทย จะมาเอาสิทธิเสรีภาพแบบตะวันตก เสียทุกเรื่องก็ไม่ได้นะคับ บ้านเมื่องวุ่นวานแน่ๆๆช่วยกันคับ ผิดธรรมชาติแล้วจะไปส่งเสริมอีก
ตอบลบ